---บัตรทอง 30 บาท
**** เจ็บป่วยทั่วไป
1. เข้ารับการรักษา ณ หน่วยบริการปฐมภูมิที่ระบุในบัตร
2. แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรทองและกับบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
***เจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุ
1.เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐ และเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
2. แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรทองและบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)
3. ถ้าได้รับอุบัติเหตุจากรถ เบื้องต้นต้องใช้สิทธิ ตามความคุ้มครองของ พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถก่อน ส่วนเกินถึงใช้สิทธิบัตรทองได้
อ่านเพิ่มเติม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
http://sarakham.dlt.go.th/9%287%29_12.pdf
***การส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง
1. เข้ารับการรักษา ณ หน่วยบริการที่ระบุในบัตรทอง
2. แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรทองและบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
3. หากการรักษาพยาบาลครั้งนั้นเกินศักยภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการปฐมภูมิจะพิจารณาส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่สูงกว่า ตามภาวะความจำเป็นของโรค
*** เจ็บป่วยฉุกเฉิน
1. เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐ และเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
2. แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรทองและบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
หมายเหตุ กรณีฉุกเฉินต้องเป็นข้อบ่งชี้ทาง การแพทย์ ที่มีลักษณะอาการรุนแรงต้องรักษา หรือผ่าตัดเป็นการเร่งด่วนหากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือทุพลภาพ โดยพิจารณาจาก ความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค แนวทางการรักษา และความเร่งด่วนในการรักษา รวมทั้งคำนึงถึงการรับรู้ของผู้ป่วยที่มีต่อการ สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่น ที่ไม่ได้ระบุในบัตรทองได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปีงบประมาณ
ผู้มีสิทธิได้รับบัตรทอง คือ ประชาชนสัญชาติไทยทุกคน ที่ยังไม่มีสิทธิใด ๆ จากหลักประกันอื่นที่รัฐจัดให้
**** ติดต่อขอทำบัตรทอง ****
ได้ที่
- สถานีอนามัย
- โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน หรือ
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
ใช้หลักฐาน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร หรือใบเกิด)
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
- กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้านให้เพิ่มเติม สำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัย ซึ่งมีลายมือ ชื่อเจ้าของบ้าน หรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชนรับรองว่าได้พักอาศัยอยู่จริง หรือรับรองตนเองพร้อมแสดงหลักฐานอื่นประกอบ เช่น ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ สัญญาเช่า ที่มีชื่อตนเอง เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น